สวัสดีคะผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ขอเล่าเรื่องการไปสหภาพเมียนม่าร์ หลังวิกฤตการณ์โควิด19 และช่วงที่ประเทศนี้ปกครองด้วยทหาร!!! การเดินทางครั้งนี้ ใช้เวลาเดินทาง 3 วัน 2 คืน โดยสายการบินไทย ใช้เวลาบินเพียง 1.30 ชม. โดยระหว่างเที่ยวบินมีบริการอาหาร และเครื่องดื่ม มุ่งตรงสู่ เมืองย่างกุ้ง หรือ ร่างกุ้ง เพื่อเดินทางต่อสู่เมืองไจ้ท์โถ เพื่อสักการะพระธาตุอินทร์แขวน ผู้เขียนออกจากสนามบินและมุ่งหน้ามุ่งพระธาตุอินทร์แขวน ระหว่างการเดินทางสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปมาก จากการเดินทางครั้งก่อนหน้าเมื่อปี 4 ปีที่แล้ว ถนนหนทางมีการปรับปรุงและขยายให้กว้างออกไป รถเก่าๆ เหมือนรถกระป๋องก็ได้หายไปมากหรือหากเทียบก็เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ระหว่างการเดินทางจากย่างกุ้งไป พระธาตุอินทร์แขวครั้งนี้ ไม่ได้ผ่านทางเมืองหงสา เนื่องจากนำ้ท่วม จึงได้เลี่ยงวิ่งไปทางหลวงที่มุ่งหน้าสู่เมืองหลวงของสหภาพเมียนม่าร์ นั่นก็คือ เมืองเนปิดอร์ (จำได้ว่าเคยนั้งรถจากย่างกุ้ง แวะจอดปั๊มนำ้มัน ลักษณะคล้ายปั๊มปตท.บ้านเรา แต่ไม่ดีเท่า ใช้เวลาวิ่งเกือบๆ 4 ชม.) ตลอดการเดินทางผู้เขียนเห็นจุดตรวจที่ควบคุมโดยทหาร ไม่ตำ่กว่า 15 จุด เนื่องจากการเดินทางสู่พระธาตุอินทร์แขวนนั้น จะต้องเดินทางสู่รัฐมอญ จึงมีการตรวดตราเป็นพิเศษ อย่างที่บอกคะ ว่าตอนนี้ทหารปกครอง และพม่ารัฐทั้งประกอบไปด้วยรัฐทั้งหมด 7 รัฐ มีวัฒนธรรม และเชื้อชาติที่หลากหลาย ดังนั้นการตรวจตราจึงเคร่งครัด อย่างมาก ผู้เขียนออกจากย่างกุ้งราวๆ เที่ยง และถึงจุดเพื่อเปลี่ยนรถขึ้นสู่พระธาตุอินทร์แขวนราวๆ 16.00 น. ซึ่งหยุดระหว่างทาง 2 จุดด้วยกัน (จุดแวะเข้าห้องนำ้ทีดี พอประมาณ)
การเปลี่ยนรถ เมื่อลงมาจากรถของเราแล้วนั้น จะมีคณะมารอต้อนรับเรา คือ ฝูงแม่ค้า จำนวนมาก แต่ไม่มากเท่าก่อนที่จะเกิดโควิด 19 จากตรงจุดนี้ ทุกคนจะต้องนั่งรถขนหมู อันนั้นตั้งชื่อเอง แต่ใครๆ ก็มักเรียกว่ารถขนหมู (เหมือนรถ 6 ล้อเล็กๆ ที่ทำที่นั่ง มีไว้พาด ที่พนักผิง และมีที่รองนั่ง ส่วนหน้าฝนที่รองนั่งจะหายไป มีหลังค่ากันแดด กันฝน) แม่ค้ามาขายอะไรบ้าง? เสื้อกันฝน หมวก ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เพื่อใส่กระเป๋าเดินทาง ดังนั้นไปหาซื้อตรงจุดนั้นได้ ราคาไม่แพงสำหรับคนไทย จากนั้นการบันเทิง หรรษา กำลังจะเริ่มขึ้น โดยการนั่งรถขนหมูข้ามเขา จำนวน 33 ลูก สู่พระธาตุอินทร์แขวน ผู้เขียนได้เข้าพักที่โรงแรมไจ้ท์โถ (บนพระธาตุอินทร์แขวนมีโรงแรมตั้งอยู่บนยอดเขา จำนวน 4 แห่ง ใหญ่ที่สุด คือ โรงแรมที่ผู้เขียนเข้าพัก โรงแรมที่ไกลพระธาตุอินทร์แขวนที่สุด คือ โยโยเล (ไม่เหมาะกับหน้าฝน) โรงแรมที่นอนสบายที่สุดเท่าที่เคยนอนมา คือ เม้าท์เทนท๊อป แต่แอบหอบ เมื่อเดินไปห้องต่างๆ ที่ตั้งอยู่ตรงแนวภูเขา โรงแรมนี้ชาวฝรั่งมักเข้าพัก สบาย และสะอาดดี
หลังจากการเช็คอิน แนะนำว่าเข้าห้องแล้วเช็ก คือ ก๊อกนำ้ เครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ ว่าใช้ได้ไหม แอร์เปิดแล้วเย็นไหม แล้วควรเปิดทิ้งไว้ เพื่อไม่ให้เหม็นอับ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็ถึงเวลาเดินสู่จุดจอดรองเท้า ถอดรองเท้า ฝากไว้ (คู่ละ 500 จ๊าด) ไม่งั้นหายนะจ๊ะ เดินต่อเพียง 5 - 10 นาทีจะถึงลานโล่ง แลเห็นพระธาตุอินทร์แขวนที่ภายในบรรจุพระเกศาธาตุไว้ 2 เส้น มีจุดให้ซื้อแผ่นทอง ดอกไม้่ ระฆัง เพื่อสักการะพระธาตุ และเทพทันใจ พระธาตุยังคงสวยงามศักดิ์ศิทธิ์ ไม่เคยเปลี่ยน แต่สิ่งที่เปลี่ยน คือ ผู้คนที่มาสักการะ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมีจำนวนน้อยมาก ผู้เขียนได้มีโอกาสสักการะพระธาตุก่อนพระอาทิตย์อัศดง แม้นพระพรหมจะโปรยนำ้มนต์อันศักดิ์สิทธิ์จากฝากฟ้าก็ตาม เมื่อสักการะพระธาตุ และเทพทันใจ สิ่งที่ขาดไม่ได้และต้องแวะก่อนกลับโรงแรม คือ แวะที่พิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติความเป็นมา ของพระธาตุอินทร์แขวน และ เทพสุขภาพที่อยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ เพื่อขอพร
ถึงเวลารับประทานอาหารคำ่ บุฟเฟ่ต์ระดับ 5 ดาว (ยำปลากระป๋องเลิศรส ผัดหมี่ไร้รสชาติ หมูทอดแห้งๆ กลิ่นขิง ปลาผัดพริก หอมใหญ่ทอด ไข่เจียว นำ้พริกกะปิ ผักสด กุ้งแม่นำ้ขนาดเล็ก ส้มโอ ของหวาน กาแฟ-ชา และนำ้เปล่า) อร่อยมากสำหรับผู้เขียน คือ ยำปลากระป๋อง(ที่สุดละ) ไม่เคยทำให้ผิดหวังเลยแม้นสักครั้ง ระหว่างที่ผู้เขียนเดินกลับมารับประทานอาหาร เวลาประมาณ 19.30 น. ฟ้ามึดมิด ไฟฟ้าดับ สวนกับกรุ๊ปทัวร์จากประเทศไทย .... มืดสนิท ยังคิดในใจว่า จะเห็นอะไรบ้างไหมหนอ
อิ่มแล้วนอนได้ เพราะพรุ่งนี้ ตี5 เพื่อไปสักการะพระธาตุอีกครั้ง !!! ไว้ผู้เขียนจะมาเล่าต่อใน EP. ต่อๆ ไป เพราะพม่าบ้าเห่อ
ข้อเสนอแนะ
1. เตียงนอนบนพระธาตุอินทร์แขวนจะชื้น ดังนั้นเมื่อนอนลงไป จะรู้สึกชิ้นอยู่ตลอดเวลา ควรเลือกชุดนอนแขนยาว ขายาว ถุง ติดไป
2. การไหว้พระ ไหว้สิ่งศักดิ์ ไม่ต้องรีบร้อบ แย่งกัน ได้ไหว้ทุกคน หากไม่เลือกไปโปรแกรมชะโงก
3. การไปพม่า คือ เข้าเมืองลิ่ว ต้องลิ่วตาตาม
4. เคเบิ้ล ขึ้นพระธาตุ ยังไงก็ต้องนั่งรถขนหมูขึ้นไป
5. ข้าวพม่า ไม่มียาง ทำให้ย่อยเร็ว หิวบ่อย
6. ควรสักการะพระธาตุอินทร์แขวนให้ครบ 3 ครั้ง โดยการเดินทางออกประตู ให้ครบ 3 ครั้ง